ผูกขาดทางการค้
ข่าวสารต่างๆ

ทำตวามเข้าใจเรื่องการผูกขาดทางการค้า คืออะไร และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

จากวิกฤติการณ์โควิท 19 ที่ผ่านมา จะเห็นว่านอกจากเรื่องความปลอดภัยทางด้านสุขภาพแล้ว อีกเรื่องที่ต้องมาด้วยกันก็คือเรื่องของเศรษฐกิจด้วย องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้นมีมากมายหลายอย่าง บางคำศัพท์เราอาจจะเพิ่งเคยได้ยินด้วยซ้ำ แต่บางคำก็ได้ยินมานานแล้ว หนึ่งในนั้นก็คือคำว่า การผูกขาดทางการค้า คำนี้หมายถึงอะไรสำคัญต่อเราตรงไหน

การผูกขาดคืออะไร

คำว่า การผูกขาด มาจากคำว่า monopoly ในภาษาอังกฤษ ความหมายของคำนี้ หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มองค์กรธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นผู้ขายสินค้า หรือ บริการอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงรายเดียว อธิบายให้เห็นภาพยกตัวอย่างเช่น หากเราจะใช้บริการอินเตอร์เน็ตบ้าน แล้วมีผู้ให้บริการเพียงแค่รายเดียวคือ A นั่นหมายความว่าเราต้องไปขอบริการกับ A เท่านั้นจึงจะสามารถใช้บริการได้ ซึ่งการผูกขาดทางการค้านั้น มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้าง

อำนาจต่อรองด้านราคาไม่มี

เมื่อเรามีการผูกขาดทางการค้าในสินค้า หรือ บริการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ราคาของสินค้า และบริการนั้นจะถูกผูกขาดไปด้วย พูดง่ายๆว่าจะโดนองค์กรนั้นกำหนดราคาได้เองแบบที่เราไม่สามารถไปเลือกอย่างอื่นได้ จากตัวอย่างแรก ถ้าหากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต A กำหนดเอาไว้ที่ราคาเดือนละ 500 บาท เราก็ต้องจ่าย แต่เดือนถัดมามีการขึ้นราคาค่าบริการไปที่ 1,000 บาท แต่ทุกอย่างเหมือนเดิม เราก็ต้องใช้อยู่ดี และจ่ายค่าบริการดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิ์โต้แย้งอะไรได้ เนื่องจากอำนาจต่อรองเราไม่มี

ขาดการแข่งขันและพัฒนา

เมื่อมีการผูกขาดสินค้า บริการอะไรสักอย่างในตลาด สิ่งที่ตามมาก็คือ เจ้าของสินค้าบริการนั้นจะไม่พัฒนาตัวเอง แข่งขันพื่อให้สินค้า บริการนั้นดีขึ้น เนื่องจากการพัฒนาอาจจะต้องทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ผู้บริโภคจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้า บริการนั้นในราคาเดิมหรือแพงขึ้น แต่สิ่งได้รับกลับเท่าเดิม หรือแย่ลง(เมื่อเทียบกับประเทศอื่น) ยกตัวอย่าง เราติดตั้งอินเตอร์เน็ตบ้าน จากบริษัท A แต่บริษัท A ทำการผูกขาดอินเตอร์เน็ตบ้านไว้รายเดียว ทำให้เค้าปล่อยอินเตอร์เน็ตในความเร็วเพียงแค่ 100 / 100 เท่านั้น ราคาต่อเดือน 700 บาท แต่หากเทียบกับประเทศอื่น เราอาจจะได้อินเตอร์เน็ตบ้านในระดับ 300/300 ในราคา 700 บาทเท่ากัน หรืออาจจะมีซิมโทรศัพท์มือถือแถมมาให้ด้วย จะเห็นว่าการผูกขาดผู้ที่จะได้รับประโยชน์ก็คือ บริษัทที่ทำการผูกขาดเอาไว้นั่นเอง ส่วนผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์น้อยลงไปเรื่อยๆสวนทางกับเงินที่ต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆ

รัฐบาลกับการป้องกันการผูกขาด

จากตัวอย่างที่ยกมานั้น อาจจะเป็นสินค้าที่อาจจะไม่สำคัญมากในระดับดำรงชีพ แต่หากการผูกขาดสินค้าเป็นสินค้าในหมวดปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็น อาหาร หรือ ยา ล่ะ มันจะเกิดอะไรขึ้น ลองนึกภาพว่า เราไม่สามารถเข้าถึงยาพาราเซตามอลได้ เนื่องจากมันถูกผูกขาดเอาไว้จากคนบางกลุ่ม ทำให้ราคายาพาราเซตามอลแพงมากเป็นเม็ดละ 50-70 บาท ถ้าเป็นแบบนั้นประชาชนอาจจะล้มตายได้เนื่องจากยาไม่พอ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้ามาเป็นคนกลางเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นมา เราจะเห็นว่ารัฐบาลจะมีการออกกฎหมายเพื่อป้องกันการผูกขาดในสินค้าจำเป็นบางอย่างเอาไว้ ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยแม้จะไม่ได้ออกกฎหมายมาควบคุม แต่ก็จะมีการติดตามเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดขึ้นมา

นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราเห็นทางภาครัฐบาลเหมือนจะเข้ามาแทรกแซงบางอย่างเพื่อไม่ให้ใครโตเกินไปในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน จนกลายเป็นขาใหญ่จนผูกขาดสินค้าและบริการนั้นได้ แม้จะทำไม่สำเร็จในทุกครั้งแต่ก็ยังดีที่มีการทำแบบนี้ ไม่งั้นคนไทยเรานี่แย่แน่นอน ลองนึกภาพว่าโดนผูกขาดยาหรืออาหารคนไทยก็คงจะอยู่ไม่ได้แล้ว